เงินเฟ้อไทย ส.ค. เพิ่ม 0.88% จากราคาน้ำมันโลกพุ่งสูง จับตามาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ
รมว.พลังงาน เสนอลดราคาน้ำมัน นำเข้าน้ำมันสำเร็จรูปเสรี – ลดค่าไฟ
“กรุงศรี” หั่นเป้า จีดีพีไทยปี66 โตเหลือ 2.8% มองเศรษฐกิจฟื้นต่ำกว่าศักยภาพ
สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์ รายงาน ดัชนีราคาผู้บริโภคของไทย (CPI) เดือนส.ค. 66 เท่ากับ 108.41 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 107.46 ส่งผลให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปสูงขึ้น 0.88% YoY เพิ่มขึ้นเล็กน้อยจาก 0.38% ในเดือน ก.ค.66
โดยสาเหตุหลักจากการเพิ่มสูงขึ้นของสินค้าในกลุ่มพลังงานเป็นสำคัญ ขณะที่กลุ่มอาหารสดราคาทรงตัว ส่วนเนื้อสัตว์ และเครื่องประกอบอาหารราคาลดลง ส่งผลให้สินค้าในหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ราคาโดยรวมชะลอตัวต่อเนื่อง
ด้านหมวดอื่น ๆ ที่ไม่ใช่อาหารและเครื่องดื่ม สูงขึ้น 0.98% YoY ตามการสูงขึ้นของราคาสินค้าในหมวดพาหนะการขนส่งและการสื่อสาร โดยเฉพาะราคาน้ำมันเชื้อเพลิงที่ปรับตัวสูงขึ้นตามราคาในตลาดโลกเกือบทุกประเภท รวมทั้งค่าโดยสารสาธารณะปรับเพิ่มขึ้นตามต้นทุน นอกจากนี้ ค่ากระแสไฟฟ้า ราคาก๊าซหุงต้ม ค่าของใช้ส่วนบุคคล ค่าแต่งผมชายและสตรี และค่ายา ราคายังคงอยู่ระดับสูงกว่าปีที่ผ่านมา
ด้านหมวดอาหารและเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ สูงขึ้น 0.74% YoY ราคาชะลอตัวต่อเนื่องจากปลายปีที่ผ่านมา ทั้งนี้มีสินค้าสำคัญที่ราคาสูงขึ้น อาทิ ไข่และผลิตภัณฑ์นม ผักและผลไม้สด เนื่องจากสภาพอากาศที่แปรปรวน ปริมาณผลผลิตจึงออกสู่ตลาดน้อย รวมถึงเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ ข้าวสารเหนียว และอาหารสำเร็จรูป ส่วนสินค้าสำคัญที่ราคาลดลง อาทิ เนื้อสุกร ไก่สด น้ำมันพืช มะพร้าว มะขามเปียก และผักสดบางชนิด (ต้นหอม พริกสด ผักชี ผักคะน้า)
ขณะที่เงินเฟ้อพื้นฐาน (Core CPI) เมื่อหักอาหารสดและพลังงานออก เพิ่มสูงขึ้น 0.79% YoY ชะลอตัวติดต่อกันเป็นเดือนที่ 8 สะท้อนให้เห็นว่า แรงกดดันของต้นทุนการผลิตที่นอกเหนือจากราคาพลังงานน้อยลง
สำหรับแนวโน้มอัตราเงินเฟ้อทั่วไป เดือนก.ย. 66 มีแนวโน้มทรงตัวหรือปรับตัวขึ้นเล็กน้อย โดยมีปัจจัยส่งผลบวกต่ออัตราเงินเฟ้อ ได้แก่ ราคาพลังงาน ทั้งน้ำมันเชื้อเพลิง ค่าไฟฟ้า และก๊าซหุงต้มที่ยังคงอยู่ในระดับสูง รวมทั้งอุปสงค์ในประเทศที่อาจเพิ่มขึ้นจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลชุดใหม่
นอกจากนี้สถานการณ์ภัยแล้งที่รุนแรงกว่าปีที่ผ่านมาในหลายประเทศทั่วโลก ทำให้ปริมาณพืชผลการเกษตรและปศุสัตว์ลดลง ส่งผลให้ราคาสินค้ากลุ่มอาหารและสินค้าที่เกี่ยวเนื่องสูงขึ้น
ด้านสถานการณ์เศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยที่ชะลอตัว และการใช้มาตรการทางการเงินที่เข้มงวดขึ้นของธนาคารแห่งประเทศไทย ซึ่งส่งผลต่ออุปสงค์และการลงทุนภายในประเทศ รวมทั้งฐานการคำนวณในเดือนก.ย.65 ที่อยู่ในระดับสูง เป็นปัจจัยกดดันให้เงินเฟ้อทรงตัวและเพิ่มขึ้นไม่มาก
อย่างไรก็ตามยังมีปัจจัยที่เกิดจากมาตรการของภาครัฐที่คาดว่าจะออกมาในระยะอันใกล้ และส่งผลต่อเงินเฟ้ออย่างมีนัยสำคัญ อาทิ มาตรการลดค่าครองชีพ และการลดต้นทุนภาคการผลิตและบริการ (ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า ราคาน้ำมัน ค่าไฟฟ้า ราคาก๊าซหุงต้ม) และความขัดแย้งทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งยังคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิดต่อไป
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์คาดการณ์อัตราเงินเฟ้อทั่วไป ปี 66 อยู่ระหว่างร้อยละ 1.0 – 2.0 (ค่ากลางร้อยละ 1.5) และหากสถานการณ์เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญจะมีการทบทวนอีกครั้ง
ประกาศฉบับที่ 19 “ฝนตกหนักถึงหนักมาก” เตือนคำพูดจาก เกมสล็อตเว็บแท้! พื้นที่เสี่ยงน้ำท่วม
วอลเลย์บอลหญิงไทย ชนะ เวียดนาม 3-1 เซต ลิ่วดวล ญี่ปุ่น ศึกชิงแชมป์เอเชีย AVC 2023
“กรดยูริก” สะสมในเลือดสูงกระตุ้นโรคเกาต์ พบได้ที่ไหนบ้าง?