Search for:
  • Home/
  • Sports News/
  • SMEยุทธวิธีเศรษฐีใหม่- ‘ตลาดสินค้าผู้สูงวัย’มุมวิจัยชี้ต้องตอบโจทย์ตรงจุด

SMEยุทธวิธีเศรษฐีใหม่- ‘ตลาดสินค้าผู้สูงวัย’มุมวิจัยชี้ต้องตอบโจทย์ตรงจุด

“ตลาดผู้สูงอายุ” เป็นตลาดที่มองข้ามไม่ได้ โดยผู้ประกอบการที่โฟกัสลูกค้ากลุ่มนี้ ก็ต้องให้ความสำคัญกับการศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับเทรนด์ผู้สูงวัย เพื่อที่จะได้ผลิตสินค้าหรือบริการได้ตรงความต้องการมากที่สุด ซึ่งวันนี้คอลัมน์นี้มีข้อมูลมาฝากกัน…

สำหรับข้อมูลเรื่องนี้ มาจากทาง มินเทล ผู้ให้บริการด้านข้อมูลตลาดระดับโลก ที่ได้เปิดเผยข้อมูลและเทรนด์ล่าสุดทั้งด้านไลฟ์สไตล์ รวมถึงอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มของกลุ่มผู้สูงอายุของไทยไว้ภายในงาน Food Ingredients Asia 2023 เมื่อเดือน ก.ย. ที่ผ่านมา โดยผลวิจัยย้ำถึงความท้าทาย รวมถึงโอกาสทางธุรกิจใหม่ ๆ ที่มาพร้อมกับการก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ซึ่งกำลังมีประชากรอายุ 55 ปีขึ้นไปเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้บริโภคสูงอายุจำนวนมากมีพฤติกรรมไลฟ์สไตล์ที่เปลี่ยนแปลงไป ทั้งด้านการทำงาน หรือแม้แต่การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้จ่าย เนื่องจากผู้บริโภคกลุ่มนี้ต้องการความช่วยเหลือเพื่อให้พึ่งพาตัวเองได้ โดยทาง ดร.วิลาสิณี ศิริบูรณ์พิพัฒนา นักวิเคราะห์ตลาดอาวุโสด้านไลฟ์สไตล์ของมินเทล ประเทศไทย เผยว่าแม้ผู้สูงอายุไทยจะรู้สึกพึงพอใจกับสังคมของตน แต่ 3 ใน 4 (79%) กลับยอมรับว่าต้องการใช้เวลาสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนให้มากขึ้น และมองว่าสภาวะทางการเงินมีผลกระทบต่อความเป็นอยู่ที่ดี โดยผู้สูงอายุกว่า 8 ใน 10 (82%) อยากให้มีการมอบโอกาสการทำงานให้กับกลุ่มคนวัยเกษียณมากขึ้น ขณะที่ “เทรนด์อาหารกับเครื่องดื่ม” นั้น พบว่าผู้สูงอายุมีแนวโน้มเผชิญปัญหาสุขภาพหลายด้าน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ สนับสนุนให้เกิดเทรนด์อาหารและเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ โดยเกือบครึ่งหนึ่ง (47%) ต้องการผลิตภัณฑ์อาหารและเครื่องดื่มที่เพิ่มประโยชน์ให้แก่สุขภาพมากกว่าผลิตภัณฑ์แบบเดิมทั่วไป ซึ่งเรื่องนี้นำมาใช้สร้างโอกาสทางธุรกิจให้กับแบรนด์หรือสินค้าได้ นอกจากนี้ ผลวิจัยดังกล่าว ยังพบว่าผู้บริโภคสูงวัยกำลังมองหาผลิตภัณฑ์ที่ได้รับการออกแบบให้เหมาะกับกลุ่มอายุของตนเองโดยเฉพาะ โดยมากกว่า 2 ใน 3 (61%) คาดหวังว่าจะมีสินค้าอาหารและเครื่องดื่มที่ออกแบบมาเพื่อให้ผู้สูงวัยเลือกซื้อหลากหลายมากขึ้น ซึ่งทาง ดร.วิลาสิณี ได้แนะนำว่า แบรนด์สามารถอำนวยความสะดวกให้ผู้บริโภคกลุ่มนี้ได้ด้วยการติดฉลาก และจัดกลุ่มผลิตภัณฑ์ให้เหมาะสมกับช่วงอายุแบบเฉพาะเจาะจง เช่น ติดฉลากว่าเป็นสินค้าที่เหมาะสำหรับสตรีอายุ 55 ปีขึ้นไป เป็นต้น นอกจากนี้ การสื่อสารเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ด้วยวิธินี้ ยังช่วยทำให้กระบวนการเลือกซื้อสินค้ามีความสะดวกง่ายขึ้นสำหรับผู้ใกล้ชิดผู้สูงอายุ เพราะเมื่อผู้บริโภคมีอายุมากขึ้น ก็จะมีแนวโน้มที่จะตัดสินใจซื้อสินค้าด้วยตัวเองน้อยลง และเริ่มที่จะพึ่งพาผู้อื่นมากขึ้น…นี่เป็นข้อมูลน่าสนใจเกี่ยวกับ “ตลาดผู้สูงวัย” ที่เอสเอ็มอีสามารถนำเอามาปรับใช้เป็นข้อมูลทางด้านการตลาดได้.

ศิริโรจน์ ศิริแพทย์ [email protected]คำพูดจาก pg slot เว็บใหม่

ขอขอบคุณรูปภาพจาก www.freepik.com คำพูดจาก สล็อตเว็บตรง